วิธีเขียนบทความลง blogger
ผู้เริ่มต้นเขียนบทความใหม่ๆ หรือมือใหม่อาจจะงงๆ กับ เครื่องมือจัดรูปแบบ ตกแต่งต่างๆ วันนี้ก็เลยจะมาแนะนำครับ
1. กดปุ่ม “บทความใหม่” จากเมนูทางด้านซ้ายมือ (ตามที่สี่เหลี่ยมไว้ตามภาพ) เพื่อสร้างบทความหรือ Post ใหม่
2. Blogger จะแสดงหน้าบทความเปล่าขึ้นมา
หมายเลข 1 : เขียน เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความตามที่เห็นในภาพข้างบน
HTML เลือกเมื่อต้องการจัดรูปแบบทั้งหมดด้วยตนเองโดยการใส่ Code HTM
หมายเลข 2 : ตั้งชื่อบทความที่จะเขียน
หมายเลข 3 : การจัดรูปแบบตัวอักษรทั่วไป Font ตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น
หมายเลข 4 : เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงในบทความตามลำดับ
หมายเลข 5 : รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
หมายเลข 6 : เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง เป็นต้น
หมายเลข 7 : การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำ
หมายเลข 8 : ที่สำหรับเขียนบทความ
3.เมนูทางด้านขวาสุดของหน้าเขียนบทความจะแสดง
หมายเลข 1 : เผยแพร่ เมื่อเขียนบทความเสร็จและสมบูรณ์แล้ว ก็กดเผยแพร่ให้คนอื่นเห็นได้เลย
บันทึก เมื่อยังเขียนบทความไม่เสร็จก็สามารถบันทึกไว้ก่อนค่อยมาเขียนต่อได้
แสดงตัวอย่าง ดูตัวอย่างบทความที่เราเขียน
ปิด เมื่อต้องการหยุดเขียนบทความ
หมายเลข 2 : ป้ายกำกับ เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด
กำหนดเวลา สามารถกำหนดเวลาเผยแพร่บทความ หรือ แก้ไขวันที่ ที่เผยแพร่บทความเดิม
ลิงก์ถาวร กำหนดลิงก์ให้บทความ หรือ ดูลิงค์บทความได้ที่นี่
ตำแหน่งที่ตั้ง แสดงที่ตั้งของผูเขียนบทความ
คำอธิบายการค้นหา เขียนข้อความที่อยากให้การค้นหาของ search engine ต่างๆค้นหาเจอ
ตัวเลือก กำหนดค่าต่างๆ
1. กดปุ่ม “บทความใหม่” จากเมนูทางด้านซ้ายมือ (ตามที่สี่เหลี่ยมไว้ตามภาพ) เพื่อสร้างบทความหรือ Post ใหม่
2. Blogger จะแสดงหน้าบทความเปล่าขึ้นมา
หมายเลข 1 : เขียน เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียนบทความตามที่เห็นในภาพข้างบน
HTML เลือกเมื่อต้องการจัดรูปแบบทั้งหมดด้วยตนเองโดยการใส่ Code HTM
หมายเลข 2 : ตั้งชื่อบทความที่จะเขียน
หมายเลข 3 : การจัดรูปแบบตัวอักษรทั่วไป Font ตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น
หมายเลข 4 : เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงในบทความตามลำดับ
หมายเลข 5 : รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นในหน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
หมายเลข 6 : เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้าย ชิดขวา กึ่งกลาง เป็นต้น
หมายเลข 7 : การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำ
หมายเลข 8 : ที่สำหรับเขียนบทความ
3.เมนูทางด้านขวาสุดของหน้าเขียนบทความจะแสดง
หมายเลข 1 : เผยแพร่ เมื่อเขียนบทความเสร็จและสมบูรณ์แล้ว ก็กดเผยแพร่ให้คนอื่นเห็นได้เลย
บันทึก เมื่อยังเขียนบทความไม่เสร็จก็สามารถบันทึกไว้ก่อนค่อยมาเขียนต่อได้
แสดงตัวอย่าง ดูตัวอย่างบทความที่เราเขียน
ปิด เมื่อต้องการหยุดเขียนบทความ
หมายเลข 2 : ป้ายกำกับ เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด
กำหนดเวลา สามารถกำหนดเวลาเผยแพร่บทความ หรือ แก้ไขวันที่ ที่เผยแพร่บทความเดิม
ลิงก์ถาวร กำหนดลิงก์ให้บทความ หรือ ดูลิงค์บทความได้ที่นี่
ตำแหน่งที่ตั้ง แสดงที่ตั้งของผูเขียนบทความ
คำอธิบายการค้นหา เขียนข้อความที่อยากให้การค้นหาของ search engine ต่างๆค้นหาเจอ
ตัวเลือก กำหนดค่าต่างๆ